เสาร์. เม.ย. 27th, 2024

SUZUKI CARRY ตอกย้ำความอเนกประสงค์ จากฟู้ดทรัคสู่รถตรวจโควิด-19 เชิงรุก

นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม กรรมการบริหารด้านการขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลให้เกิดความแออัดและรอคิวนานของประชาชนที่กำลังเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) สำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 ในเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤติดังกล่าวนี้  โดยตู้ชีวนิรภัย (biosafety unit) ถูกออกแบบมาสำหรับติดตั้งอยู่บนกระบะรถ SUZUKI CARRY เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ล่าสุดซูซูกิได้ร่วมพิธีส่งมอบรถ SUZUKI CARRY  ในโครงการผลิตรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ที่สามารถ SWAB ได้พร้อมกัน 3 ทาง จึงเก็บตัวอย่างได้ถึง 3 เคส ในครั้งเดียว สามารถตรวจคัดกรองโควิด-19 ได้กว่าวันละ 3,000 ราย โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน (หมอแล็บแพนด้า) ณ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา

รถกระบะบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการพาณิชย์ขนาดย่อม SUZUKI CARRY ถึงแม้จะถูกจดจำในฐานะ “ฟู้ดทรัค” ธุรกิจติดล้อที่ใช้การตลาดเชิงรุกในการเข้าหาผู้บริโภค แทนที่การหยุดนิ่งอยู่กับที่ จนกลายเป็นขวัญใจผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ต้องการอิสระในการเดินตามความฝันและต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง   อีกทั้งความตั้งใจของซูซูกิต้องการให้รถ SUZUKI CARRY เป็นมากกว่ารถขนสินค้าหรือสัมภาระ เปรียบเสมือนดั่งพาร์ทเนอร์คนสำคัญ ที่พร้อมจะสนับสนุนและร่วมขับเคลื่อนอยู่เคียงข้างผู้ประกอบการด้วยความจริงใจ พร้อมเดินหน้าไปสู่จุดหมายและประสบความสำเร็จไปด้วยกัน

ทว่าเวลานี้ SUZUKI CARRY กำลังตอกย้ำชัดให้เห็นถึงดีเอ็นเอของความเป็นกระบะบรรทุกอเนกประสงค์  ด้วยการปรากฏโฉมในรูปแบบของ “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) หรือ “รถตรวจโควิด” ที่พัฒนาจากรถตรวจโควิดต้นแบบให้สามารถตรวจเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ในจำนวนมากได้ สามารถทำการ SWAB ได้พร้อมกัน 3 ทาง จึงเก็บตัวอย่างได้ถึง 3 เคส ในครั้งเดียว โดยเฉลี่ยสามารถตรวจคัดกรองผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้กว่าวันละ 3,000 ราย นับว่าเป็นรถเก็บตัวอย่างชีวินิรภัยประสิทธิภาพเยี่ยมที่สามารถตรวจเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมากในขณะนี้ ปัจจุบันลุยปูพรมตรวจโควิดเคียงข้างบุคลากรทางการแพทย์ได้แล้วถึง 21 คัน โดยได้ส่งมอบรถคันล่าสุดเสริมทัพทีมแพทย์แล้วอย่างเป็นทางการ

รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ถือเป็นความภาคภูมิใจของซูซูกิ ที่เกิดจากความร่วมมือของ ทนพ. ภาคภูมิ เดชหัสดิน (หมอแล็บแพนด้า) ศูนย์นวัตกรรม KMITL FIGHT FOR COVID-19 และศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ (Research and Creative Design Center: RCDC) คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการพัฒนารถเก็บตัวอย่างชีวินิรภัยแบบเคลื่อนที่ เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เชิงรุกในสถานการณ์การระบาดอย่างรุนแรงในขณะนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มพื้นที่เสี่ยงให้เร็วที่สุด โดยออกแบบพื้นที่กระบะบรรทุกของ SUZUKI CARRY ขนาดกว้าง 1,670 มิลลิเมตร ยาว 2,450 มิลลิเมตร และรับน้ำหนักได้ 945 กิโลกรัม ให้เป็น “ตู้ชีวนิรภัย” (Biosafety Unit) ที่เปรียบเสมือนห้องปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งบรรจุได้ถึง 3 ห้อง สามารถ SWAB ได้ 3 คนในครั้งเดียว ต่อยอดจากรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยต้นแบบคันแรกที่ SWAB ได้เพียงครั้งละ 1 คน ทำให้ตรวจคัดกรองได้มากกว่า 3,000 คนต่อวัน ภายในตู้ชีวนิรภัยสร้างสรรค์ผ่านหลักการ Human-Centered Design ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติงาน ด้วยการติดตั้งระบบปรับและกรองอากาศด้วย HEPA Filter และระบบแรงดันบวก (Positive Pressure) ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้แก่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา นายวัลลภ เป็นผู้แทนซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ในการเข้าร่วมในพิธีส่งมอบรถ SUZUKI CARRY ในโครงการผลิตรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ หมอแล็บแพนด้า ณ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมี ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ และนายสุรเชษฐ ไชยอุปละ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ ในฐานะตัวแทนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมด้วย ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ที่ครองใจประชาชนในสังคมออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊คชื่อ “หมอแล็บแพนด้า”

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ในขณะนี้ นับว่ามีความรุนแรงสูง การควบคุมการแพร่ระบาดด้วยการตรวจเชิงรุกจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ ซึ่งหากมีรถเก็บตัวอย่างชีวินิรภัยที่มีความคล่องตัวสูง สามารถรุดหน้าไปตรวจเชิงรุกยังพื้นที่ระบาดหรือมีความเสี่ยงได้ในเวลาอันรวดเร็วมาเสริมกำลังกับบุคลากรทางการแพทย์ให้ทำงานแข่งกับเวลาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังช่วยปกป้องเจ้าหน้าที่ทางการแพทพย์ไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ และสามารถควบคุมการระบาดได้ในที่สุด

รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ลงถนนปฏิบัติการจริงอย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้จึงอยู่ในความสนใจของสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้องค์กรเอกชนหลายภาคส่วนเห็นความสำคัญ ร่วมสนับสนุนการสร้างรถ (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ในเชิงสาธารณประโยชน์มากขึ้น ปัจจุบันมีรถ (SUZUKI CARRY Biosafety Mobile Unit) ในปฏิบัติการตรวจคัดกรองเชิงรุกถึง 21 คัน และยังเพิ่มจำนวนต่อไปอีกเรื่อย ๆ

นายวัลลภ กล่าวเพิ่มเติมว่า “SUZUKI CARRY Your Dream เคียงข้างทุกเส้นทางฝัน” ยังคงเป็นดีเอ็นเอที่ชัดเจนของ SUZUKI CARRY เพราะไม่ว่าความฝันของคุณจะเป็นอย่างไร หรืออยู่ท่ามกลางวิกฤติการณ์แบบไหน SUZUKI CARRY ก็พร้อมจะเป็นยานพาหนะที่อยู่เคียงข้างร่วมฝ่าวิกฤติในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น รถทำมาหากินในรูปแบบของฟู้ดทรัคกู้เศรษฐกิจของครอบครัว รถปันสุขที่แบ่งปันรอยยิ้มสู่สังคม หรือรอบนี้ที่ SUZUKI CARRY เป็นด่านหน้าร่วมกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติการเชิงรุกแบบเคลื่อนที่ และเป็นที่แน่นอนว่า เมื่อหมดวิกฤติการณ์นี้ รถ SUZUKI CARRY ก็จะสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นรถอเนกประสงค์ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อตอบสนองสังคมไทยต่อไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับโครงการ “SUZUKI Cause We Care” ซึ่งสิ่งที่เรามุ่งมั่นและต้องการสื่อสารไปยังลูกค้าและพี่น้องชาวไทยทุกท่านว่าเราไม่ใช่แค่เพียงผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ แต่เราหวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการอยู่คู่เคียงข้างชุมชนและสังคมไทยอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *